วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552

งานโปรเจค Channel and Source Coding:video coding

Project
Information Theory : Channel and Source Coding
Video Coding


กำหนดส่ง : Valentine (14 ก.พ. 52)

รายละเอียดของงาน : ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำ project เรื่อง Video Coding และจัดทำเอกสารเพื่อ Present เรื่องนี้ให้เพื่อนฟังในชั้นเรียน พร้อมทั้ง demoโปรแกรม Matlab

Video Coding
Video Coding คือ เทคโนโลยีการเข้ารหัสสัญญาณภาพเพื่อให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับ และมีการบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กลง(Compression) เพื่อความเร็วในการสื่อสารข้อมูล และสะดวกในการจัดเก็บ














































SA-Assignment 1

System Analysis Assignment 1

1. จงยกตัวอย่างระบบจริงๆมา 3 ระบบ และอธิบาย
1.1 ระบบงานธนาคาร Citibank and ATMs จากการที่เป็นรายแรกที่ติดตั้งตู้ ATMs ซิตี้แบงค์และธนาคารใหญ่ๆอีกหลายแห่งเกิดความได้เปรียบทางกลยุทธ์เหนือคู่แข่ง ATMs ดึงดูดใจลูกค้าจากสถาบันการเงินอื่นๆ จากการตัดต้นทุนที่เกี่ยวกับการให้บริการและเพิ่มความสะดวกสบายในการให้บริการนั่นเอง ATM ยังเป็นตัวอย่างของการทำให้เกิดความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ นับตั้งแต่ธนาคารให้บริการในรูปแบบใหม่ๆขึ้นมา ATM กระตุ้นให้ต้นทุนของการแข่งขันเพิ่มขึ้น ซึ่งผลักดันให้ธนาคารขนาดเล็กที่ไม่มีทุนในการลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้มารวมกับธนาคารขนาดใหญ่กว่า ATM เป็นตัวแทนของรูปแบบการให้บริการทางธนาคารแบบใหม่ ที่น่าสนใจและสร้างความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า ดังนั้น เทคโนโลยีระบบสารสนเทศได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนากลยุทธ์กระบวนการการให้บริการแก่ธนาคาร
1.2 ระบบงานของโรงพยาบาลใช้ซอฟต์แวร์ Hospital 2000 คือ ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานโรงพยาบาลโดยเฉพาะ ซึ่งครอบคลุมระบบงานของโรงพยาบาลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลผู้ป่วย แพทย์ ระบบการเก็บเงิน ระบบบัญชี ระบบรังสีวิทยา ระบบข้อมูลปฏิบัติการ ระบบงานเภสัชกรรม ระบบลงทะเบียน ระบบรับ-ส่ง-ย้ายผู้ป่วย ใน ระบบคลินิก ระบบวอร์ด รวมทั้งระบบส่วนสำนักงาน ได้แก่ การจัดการ จัดซื้อ บัญชี การบริหารทรัพยากรบุคคล โดยระบบย่อยต่างๆ เหล่านี้ได้ถูกรวมเอาไว้ในระบบใหญ่เพียงระบบเดียว บนฐานข้อมูลเดียว และยังสามารถรองรับกับทุกภาษาในโลก ใช้ปฎิทินได้ทั้งในแบบคริสต์ศักราชและพุทธศักราช โดยได้ทำการติดตั้งครั้งแรกให้แก่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2542 เป็นต้นมา Hospital 2000 ทำงานบนแพลตฟอร์ม Microsoft Window 2000 , Microsoft SQL Server และ Windows NT โดยใช้เทคโนโลยีคลัสเตอร์ใน Windows 2000 เข้ามามีส่วนในการเพิ่มศักยภาพ และความน่าเชื่อถือให้กับระบบมากยิ่งขึ้น
1.3 ระบบงานบริษัท Chrysler ได้จัดการปรับปรุงกระบวนการพัฒนายานพาหนะให้ไปสู่กลุ่มทำงานแบบผสมผสานแนวนโยบาย (Multidisciplinary Platform Teams) โดยเชื่อมโยงติดต่อกันโดย CATIA Pipeline ซึ่งเป็นเครือข่ายสื่อสารระยะไกลที่เชื่อมโยงแทบจะทุกส่วนธุรกิจของบริษัท เข้ากับส่วนอื่นๆ รวมทั้งผู้จัดหาสินค้า และคู่สัญญาจากภายนอก ซอฟต์แวร์หลักที่ขับเคลื่อนข้อมูลผ่านทางเครือข่ายและจัดการฐานข้อมูล คือ CATIA (Computer-Aided Three-Dimensional Interactive Application) ซึ่งเป็นระบบสุดยอดที่รวมเอาการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ การพัฒนา การประดิษฐ์ทางวิศวกรรม และการผลิต จาก Dassault Systems ของประเทศฝรั่งเศส ข้อมูลการผลิตจะถูกส่งต่ออย่างรวดเร็วจากทุกทิศทุกทาง เชื่อมโยงผู้จัดการ ผู้ออกแบบ วิศวกร ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบริการทางเทคนิค ผู้จัดหาสินค้า และฝ่ายผลิตเข้าด้วยกัน


2. ระบบสารสนเทศ สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร
เทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจในช่วงทศวรรษ 1990บริษัทต่าง ๆ จำนวนมากได้ทุ่มเงินลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ (New Information Technology: NIT) โดยมุ่งลงทุนในด้าน เว็บไซต์ โปรแกรมประยุกต์ที่ทันสมัย อุปกรณ์ช่วยในการประชุมทางไกล เครือข่ายสื่อสารไร้สาย ฯลฯ การลงทุน ดังกล่าว ได้ช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันที่ทัดเทียมคู่แข่งของบริษัท แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เราพบว่าบริษัทต่าง ๆ จำนวนมาก มีความจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในเทคโนโลยีที่จะลงทุน การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ ในวิถีทางที่สอดคล้องที่สุดต่อธุรกิจของบริษัท และวัตถุประสงค์ทางกลยุทธ์ รวมถึงการดำเนินงานทางการขายและการตลาดต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน บริษัทหรือผลิตภัณฑ์ลักษณะใดที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่เหล่านี้ เราจะเห็นได้ว่ามีการจำหน่ายตั๋วหรือจองที่นั่งในเที่ยวบินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ ในขณะที่การขายรถยนต์และสินค้าแฟชั่น ยังไม่สามารถทำได้ในลักษณะเดียวกัน นอกจากนี้แล้ว บางครั้ง ตัวอย่างเช่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ จะสามารถตัดขั้นตอนการมีคนกลางในระบบธุรกิจ เช่น บริษัทตัวแทนในการกระจายสินค้า ออกไปจากการดำเนินธุรกิจ (เราเรียกกรณีดังกล่าวว่า Classic Disintermediation) หรือ แทนที่จะตัดคนกลางออกไป ก็อาจเลือกแนวทางรวบรวมบริษัทคนกลางเหล่านั้นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบ (เรียกว่า Remediation) หรืออาจสร้างพันธมิตรและหุ้นส่วนทางกลยุทธ์กับบริษัทใหม่หรือบริษัทที่ดำเนินงานอยู่ เพื่อจัดการกับความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดขึ้นและมีความซับซ้อน (เรียกว่า Network-Based Mediation)
กลยุทธ์การรวมตัวในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการปรับแต่งได้ของผลิตภัณฑ์ (Product’s Customizability) และลักษณะของข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาทำความเข้าใจต่อปัจจัยขับเคลื่อนต่าง ๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ บริษัทต่าง ๆ จะสามารถเริ่มต้นคาดหมายการปรับเปลี่ยนที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรมของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่มุมด้านแนวทางการทำการตลาดและการขาย ในที่สุดแล้ว เราจำเป็นต้องพัฒนากรอบความคิดที่เป็นระบบที่จะระบุปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับกลยุทธ์ที่แตกต่างกันตามที่กล่าว ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. Classic Disintermediation
2. Remediation
3. Network-Based Mediation
โดยการใช้แนวคิดนี้ บริษัทต่าง ๆ สามารถกำหนดแนวทางที่เหมาะสมกับการปรับเปลี่ยนธุรกิจและการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ ซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมปัจจัยขับเคลื่อนเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่
สรุปการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้เพื่อทำให้เกิดกลยุทธ์ทางการ
1. กลยุทธ์ความเป็นผู้นำด้านราคา ช่วยในการลดต้นทุนการจัดซื้อ การผลิต
2.กลยุทธ์ด้านความแตกต่าง ช่วยเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้เพิ่มสูงขึ้นลงทุนทาง IT เพื่อเป็นเหมือนกำแพงกั้นไม่ให้คนภายนอกวงการอุตสาหกรรมของตนเข้ามาเป็นคู่แข่ง
3.กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม สามารถทำให้ธุรกิจเป็นเป็นผู้นำในตลาด ใช้ IT เป็นส่วนประกอบที่ทำให้สินค้าของบริษัทคู่แข่งที่จะเข้ามาแทนที่ในตลาดนั้น หมดความน่าสนใจ
4. กลยุทธ์ความเจริญเติบโต เป็นผู้นำในตลาด
5. กลยุทธ์ด้านพันธมิตร ลดต้นทุนด้านคลังสินค้า / เพิ่มการขาย ทำให้เกิดการค้าขายได้ทันทวงที ใช้ระบบสารสนเทศระหว่างองค์กรเพื่อสร้างกลไกราคาที่จะควบคุมลูกค้าและผู้จัดหาสินค้า


3. ระบบสารสนเทศชนิดใดที่ควรพัฒนาขั้นมาใช้งานก่อนเป็นลำดับแรก (ในกรณีองค์ยังไม่ระบบสารสนเทศใดเลย)
ระบบที่ควรพัฒนาขึ้นมาใช้งานก่อนเป็นลำดับแรก จะต้องเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อธุรกิจมากที่สุดและเป็นระบบที่ทำรายได้ให้แก่บริษัท เช่น ระบบสารสนเทศด้านการตลาด โดยจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ลูกค้า ตั้งแต่การศึกษา และวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนและการสร้างความต้องการ ตลอดจนส่งเสริมการขายจนกระทั้งสินค้าถึงมือลูกค้า
สารสนเทศด้านการตลาดอาจจำแนกระบบย่อยได้ดังต่อไปนี้
3.1 ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย
- ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายขาย เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลที่ระบบต้องการจะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะทำการขาย รูปแบบ ราคา และการโฆษณาต่าง ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า นอกจากนี้อาจเกี่ยวกับช่องทางและ วิธีการขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า ตลอดจนคู่แข่งของผลิตภัณฑ์ที่จะขายและจำหน่ายสินค้าคงคลังของบริษัท
- ระบบสารสนเทศสำหรับวิเคราะห์การขาย จะรวบรวมสารสนเทศในเรื่องของกำไรหรือขาดทุนของผลิตภัณฑ์ ความสามารถของพนักงานขายสินค้า ยอดขายของแต่ละเขตการขาย รวมทั้งแนวโน้มการเติบโตของสินค้า ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากรายงานต่าง ๆ เช่น รายงานการขาย รายงานของต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบ เป็นต้น
- ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ลูกค้า จะช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบของการซื้อและประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เพื่อที่ธุรกิจจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
3.2. ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อยตามหน้าที่ได้ 2 ระบบ ดังต่อไปนี้
- ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยลูกค้า การวิจัยลูกค้าจะต่างกับการวิเคราะห์ลูกค้าตรงที่ว่าการวิจัยลูกค้าจะมีขอบเขต ของการใช้สารสนเทศกว้างกว่าการวิเคราะห์ลูกค้า โดยการวิจัยลูกค้าจะต้องการทราบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับลูกค้าในด้านสถานะทางการเงิน การดำเนินธุรกิจ ความพอใจ รสนิยมและพฤติกรรมการบริโภค
- ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด การวิจัยตลาดจะให้ความสำคัญกับการหาขนาดของตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกจำหน่าย ซึ่งอาจครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หลังจากนั้นก็จะกำหนดส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์เพื่อทำการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กำหนดกลยุทธ์และวางแผนกลยุทธ์ สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของการวิจัยตลาดคือสภาวะและแนวโน้มทาง เศรษฐกิจ ยอดขายในอดีตของอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันในตลาด รวมทั้งสภาวะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์นี้ด้วย
3.3 ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับแผนงานทางด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขาย เพิ่มยอดขายสินค้า และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้สูงขึ้น สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือยอดขายของสินค้าทุกชนิดในบริษัท เพื่อให้รู้ว่าสินค้าใดต้องการแผนการส่งเสริมการขาย และสารสนเทศที่เกี่ยวกับผลกำไรหรือขาดทุนของสินค้าแต่ละชนิด เพื่อให้ความสำคัญกับสินค้าตัวที่ทำกำไร
3.4 ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นระบบสารสนเทศที่วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ลักษณะและความต้องการของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าแต่ยังไม่มีตลาด โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของระบบได้แก่ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในอดีต เพื่อให้ทราบถึงขนาดและลักษณะของตลาด และการประมาณการต้นทุน เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าสมควรที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่
3.5 ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการขาย แผนการทำกำไรจากสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของบริษัท ซึ่งจะส่งผลไปถึงการวางแผนการผลิต การวางกำลังคน และงบประมาณที่จะใช้เกี่ยวกับการขาย โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือ ยอดขายในอดีต สถานะของคู่แข่งขัน สภาวการณ์ของตลาด และแผนการโฆษณา
3.6 ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร เป็นระบบสารสนเทศที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนทำกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจ โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือสารสนเทศจากการวิจัยตลาด ยอดขายในอดีต สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา
3.7 ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา การกำหนดราคาของสินค้านับว่าเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งทางการตลาด เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน กำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งจากราคาต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ โดยสารสนเทศที่ต้องการได้แก่ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงราคาให้ได้สัดส่วนของกำไรคงเดิม ในกรณีที่ต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง
3.8 ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย บุคคลที่เป็นผู้ควบคุมค่าใช้จ่ายสามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไร กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย เป็นต้น

4. ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศและบริษัทที่จำหน่าย ERP ในปัจจุบันมีบริษัทใดบ้าง
บริษัทที่จำหน่าย ERP ได้แก่ บริษัทเอ็กซ์เพรสฯ ก่อตั้งขึ้นด้วยกลุ่มนักบัญชีและนักคอมพิวเตอร์ซึ่งมีแนวความคิดตรงกัน คือต้องการพัฒนาโปรแกรมบัญชี ให้มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะรองรับงานบัญชี และมีความยืดหยุ่นสำหรับการ ใช้งานในระบบบัญชีของธุรกิจ ทั่วๆ ไป โดยเริ่มจากการรับจ้างพัฒนาโปรแกรมให้กับบริษัทต่างๆ ในลักษณะของ งานเฉพาะด้าน (TAILORMADE) อาทิ เช่น 1. ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง 2. ระบบบัญชีแยกประเภท 3. ระบบเจ้าหนี้ 4. ระบบลูกหนี้ ฯลฯ ซึ่งโปรแกรมที่พัฒนาให้กับลูกค้าหลายๆ รายนี้เป็นพื้นฐานส่วนหนึ่ง ให้กับโปรแกรมของบริษัทฯ มีความรู้และความเข้าใจในระบบบัญชีต่างๆ มากยิ่งขึ้นโดยใช้ระยะเวลาถึง 3 ปี ในการเสริมสร้างประสบการณ์ เมื่อ มีความพร้อมทั้งความรู้ และประสบการณ์ตลอดจนถึงแนวความคิดแล้ว บริษัทฯ จึงมีความคิด ที่จะพัฒนาโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป โดยวางแนวทางในการพัฒนาไว้ดังนี้ คือ
1. แสดงผลเป็นภาษาไทยทั้งหมด
2. ง่ายต่อการใช้งาน
3. มีความเหมาะสมสำหรับธุรกิจในประเทศไทย
4. ลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน
5. มีความยืดหยุ่นเพื่อสามารถนำไปใช้งาน ได้อย่างกว้างขวาง
6. มีการพัฒนาต่อเนื่องตลอดเวลา
7. สามารถใช้งานได้จริง
จากแนวทางดังกล่าวบริษัทฯ ได้พัฒนาโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปขึ้นมา เรียกว่า "ระบบบัญชีสำเร็จรูป Express" โดยใช้เวลาในการพัฒนา 6 เดือน หลังจากพัฒนาเสร็จแล้วบริษัทฯ ยังไม่นำออกจำหน่ายทันทีแต่ใช้ระยะเวลาอีก 3 เดือนในการทดสอบ และปรับปรุงแก้ไขโดยส่งโปรแกรม Expressให้ลูกค้าใช้กับงานจริงเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเมื่อวางจำหน่าย Express ให้กับลูกค้าแล้วจะต้องสามารถใช้งานได้จริง บริษัทฯ มีความ ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งภายในระยะเวลา 10 กว่าปีที่บริษัทฯ จำหน่ายระบบบัญชีสำเร็จรูป Express ได้รับความ ไว้วางใจจากเจ้าของกิจการ ตลอดจนพนักงานบัญชีเป็นอย่างมาก โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Express เป็น จำนวนกว่า 20,000 ราย ปรัชญาในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ คือการบริการหลังการขายแก่ลูกค้าให้ดีที่สุด และพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง ให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้งานดังนั้นบริษัทฯ จึงจัดเตรียมพนักงาน บริการที่ให้คำปรึกษาแนะนำกว่า 30 คน เพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามวิธีการใช้งานตลอดจนถึง ปัญหาในการใช้งานตลอดอายุการใช้งาน

แผนที่ บริษัทเอ็กซ์เพรสฯ