วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

SA-Assignment 3 Project Plan


System Analysis Assignment 3
Project Plan
รายละเอียดของงาน : ให้นักศึกษาตอบคำถามจากโจทย์ที่ให้ มีรายละเอียดดังนี้
1. Baseline Project Plan คืออะไร
Baseline Project Plan (BPP) เป็นเอกสารที่แสดงรายละเอียดขอบเขตของโครงการ ต้นทุน กำไร ความเสี่ยง และความต้องการใช้ทรัพยากร โดยในชุดเอกสาร Baseline Project Plan แบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้
ส่วนประกอบของเอกสาร Baseline Project Plan
- ส่วนบทนำโครงการ (Introduction) แสดงขอบเขตของโครงการและแหล่งทรัพยากรที่จะต้องใช้
- ส่วนรายละเอียดของระบบ (System Desccription) แสดงรายละเอียดการทำงานของระบบอย่างคร่าว ๆ ข้อมูลนำเข้า และออกจากระบบ
- ส่วนผลการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasible Study) แสดงการศึกษาความเป็นไปได้ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Feasibility) ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค (Technical Feasibility) ความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติงาน (Operational Feasibility) ความเป็นไปได้ด้านเวลาการดำเนินงาน (Schedule Feasibility)
- ส่วนการบริหารโครงการ (Management Issues) แสดงรายละเอียดของทีมงานพัฒนาระบบแผนงาน และมาตรฐานในการทำงาน
2. Risk Management มีขั้นตอนอะไร
ความเสี่ยง (Risk) คือ ความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดความสูญเสีย สามารถอธิบายด้วยความน่าจะเป็น (Proabability) ของเหตุการณ์ดังกล่าว ส่วนผลลัพธ์ของความเสี่ยงจะถูกวัดออกมาเป็นค่าความสูญเสียหรือค่า “Loss”
การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) เป็นกระบวนการที่ประกอบไปด้วย กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อระบุ (Identify) ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น แล้วนำมาประเมินหาความเสี่ยงที่มีผลกระทบในระดับร้ายแรง เตรียมการวางแผนดำเนินการลดระดับความร้ายแรงลงให้สามารถควบคุมความเสี่ยงนั้นได้ และเตรียมการป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่าง ๆ ขึ้นต่อไป กลยุทธ์สำคัญของการจัดการความเสี่ยงมี 2 ลักษณะได้แก่
- กลยุทธ์เชิงรุก (Reactive) เป็นการจัดการกับความเสี่ยงในทันทีที่ปัจจัยเสี่ยงเกิดขึ้น
- กลยุทธ์เชิงรับ (Proactive) เป็นการป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยจะช่วยบรรเทา
เหตุการณ์ที่อาจเป็นความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสให้โครงการประสบความสำเร็จได้
การจัดการความเสี่ยงจำเป็นต้องใช้หน่วยวัดระดับความร้ายแรงของความเสี่ยง หรือความน่าจะเป็นที่จะเกิดความเสี่ยง และ ผลกระทบ เพื่อใช้จัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง ผลที่ได้จะช่วยให้ผู้บริหารโครงการทราบว่าความเสี่ยงที่ร้ายแรงเกิดจากปัจจัยใด นำไปสู่การบรรเทาความเสี่ยงจากปัจจัยดังกล่าว และควบคุมความเสี่ยงอื่น ๆ ในกลุ่มที่จัดลำดับไว้ไม่ให้เกิดขึ้น
ประเภทของความเสี่ยง (Risk Management)
เนื่องจากการดำเนินโครงการอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมจำนวนมากที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เพื่อให้ทราบว่าปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จะส่งผลกระทบต่อการทำงานด้านใดบ้าง จึงแบ่งประเภทของความเสี่ยงออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1) ความเสี่ยงของโครงการ (Project Risk) เป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบส่งตารางการทำงานของโครงการและทรัพยากรที่ต้องใช้ โดยอาจเกิดจากทีมงานไม่มีประสบการณ์ การจัดสรรทรัพยากรไม่เหมาะสม หรือการกำหนดงบประมาณไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ คุณลักษณะบางอย่างของโครงการอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงได้ เช่น ขนาด ความซับซ้อนและความไม่แน่นอนในโครงสร้างของโครงการเป็นต้น
2) ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ (Software Risk) เป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ หรือประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ โดยอาจเกิดจากส่วนประกอบย่อยของซอฟต์แวร์ไม่มีคุณภาพ หรือไม่มีการควบคุมคุณภาพในระหว่างการผลิต
3) ความเสี่ยงของธุรกิจ (Business Risk) เป็นความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร และอาจส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ หรือโครงการได้โดยปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวังมีหลายปัจจัยได้แก่ คู่แข่งนำซอฟต์แวร์ออกวางตลาดก่อน ผลิตซอฟต์แวร์ที่ไม่ตรงต่อความต้องการของตลาด ผลิตซอฟต์แวร์ที่ไม่ครอบคลุมกลยุทธ์ในการบริหารงานขององค์กร พนักงานขายไม่มีความเข้าใจในซอฟต์แวร์ที่ตนจำหน่าย (ทำให้ไม่ทราบจุดขาย) ไม่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารเมื่อต้องมีการเปลี่ยนจุดยืนหรือเปลี่ยนทีมงาน และไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน
ความเสี่ยงทั้งสามชนิดมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด เช่น หากกำหนดความต้องการไม่ชัดเจนก็จะทำให้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ได้ไม่เป็นที่ยอมรับของลูกค้าหรือผู้ใช้ (Product Risk) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการประมาณการด้านต่าง ๆ (Software Risk) และอาจส่งผลต่อธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ได้ในที่สุด(Business Risk)
กระบวนการจัดการความเสี่ยง (Risk Management Process)
การจัดการความเสี่ยงจะต้องมีกระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อให้ผู้บริหารโครงการสามารถขจัดและป้องกันความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ได้ กระบวนการจัดจัดการความเสี่ยงมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดปัจจัยเสี่ยง (Risk Identification) 2) การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) 3) การวางแผนความเสี่ยง (Risk Planning) 4) การติดตามความเสี่ยง (Risk Monitoring)



3. สมมุติว่าถ้าต้องการดำเนินธุรกิจ “ขาย Netbook “ จงเขียน Mission,Objective,Strategic ของบริษัทนี้ที่ใช้ระบบสารสนเทศเข้ามามีส่วนร่วมด้วย


“เน็ตบุ๊ก” (Netbook) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพาได้สะดวก ราคาถูก ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานด้านการติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตแบบ wireless ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้ในทุกๆ ที่ทุกเวลาที่มีสัญญาณโดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อสาย หรือวางระบบต่างๆ ให้ยุ่งยาก นอกจากนี้เน็ตบุ๊กเองยังออกแบบให้สามารถใช้งานพื้นฐานอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น การใช้งานด้านความบันเทิง ดูหนังฟังเพลง หรือแม้แต่การใช้งานทั่วๆ ไป เช่นพิมพ์งานเอกสาร จัดการรูปภาพ เป็นต้น

Mission
เป็นบริษัทตัวแทนจำหน่าย เน็ตบุ๊ก คุณภาพดี ราคาประหยัด และบริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม
ให้กับลูกค้าทั่วไป,บริษัท,องค์การต่าง ๆ

วัตถุประสงค์ (Objective)
1. เน็ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์พกพาที่ให้ความสะดวกสูง ราคาประหยัด
2. เน็ตบุ๊ก เน้นการใช้งานแอพพลิเคชั่นทั่วไปบนอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก จึงเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่ชอบการท่องเว็บ รับส่งอีเมล เล่นโปรแกรมแช็ต และร่วมวงสังคมออนไลน์ รวมทั้งดูรูปหรือวิดีโอออนไลน์ โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต และเล่นเกมออนไลน์ง่ายๆ ได้อีกด้วย
3. เน็ตบุ๊กมีระยะเวลาในการใช้งานที่ยาวนานด้วยการออกแบบภายในที่เน้นการประหยัดพลังงานตั้งการเลือกใช้ซีพียูที่ใช้พลังงานต่ำในการประมวลผล , การใช้ฮาร์ดดิสก์แบบแฟลช ที่ไม่มีมอเตอร์ซึ่งกินไฟน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์แบบปกติ และยังมีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
ตั้งลูกค้ากลุ่มเป้าหมายไว้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มผู้ที่ยังไม่เคยมีโน้ตบุ๊กมาก่อน กลุ่มนี้อาจจะมีประสบการณ์ในการใช้งาน
คอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท็อปมาบ้างแล้ว และต้องการจะมีอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยสามารถตอบสนองงานพื้นฐานอย่างการใช้แอพพลิเคชันออฟฟิศ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นต้น (ในกลุ่มนี้บางทีก็อาจจะรวมไปถึงผู้ที่ยังไม่เคยมีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเองมาก่อนด้วย เนื่องจากราคาของ Netbook นั้นถือว่าไม่สูงเกินกว่าที่จะจับจองเป็นเจ้าของได้ในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้)
2. กลุ่มผู้ที่มีโน้ตบุ๊กอยู่แล้ว กลุ่มคนที่มีโน้ตบุ๊กอยู่แล้วนี่แหละที่ให้ความสนใจกับ
Netbook เป็นพิเศษ เพราะเริ่มตระหนักดีว่าเวลาใช้โน้ตบุ๊กนอกสถานที่นั้นเรามักจะใช้เพียงความสามารถขั้นพื้นฐานที่มีอยู่ในโน้ตบุ๊กเท่านั้น ไม่ได้ใช้พลังการประมวลผลขั้นสูง ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะหนีไม่พ้นงานง่ายๆ อย่างพรีเซนเทชันด้วย PowerPoint หรือสร้างเอกสารด้วย Word และที่ยอดนิยมเลยก็คือเข้าเว็บ เช็คอีเมล ซึ่งงานพวกนี้ไม่จำเป็นต้องใช้โน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูงเลย

กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy) ในการขาย Netbook
กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy :BOS) เป็นกระบวนทัศน์แบบใหม่ที่ช่วยให้เราสามารถคิดต่างกันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อช่วยให้นักการตลาดและผู้บริหารองค์กรสามารถนำเสนอสินค้า Netbook หรือบริการใหม่ๆที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนมุมมองในเรื่องของการแข่งขันในรูปแบบเดิมๆ ที่เรียกว่า ท้องทะเลสีเลือด หรือ Red Ocean Strategy ซึ่งเป็นการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดของ Netbook กันอย่างดุเดือดจนถึงขั้นเลือดตกยางออก โดย Netbook ต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ยังไม่เคยมีใครเข้าถึงมาก่อน ซึ่งสามารถค้นหาได้โดยการตั้งคำถามที่แตกต่าง และการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้าอย่างใกล้ชิดจนสามารถเข้าถึงความต้องการที่ซ่อนอยู่ของลูกค้าได้

ไม่มีความคิดเห็น: